โลโก้เว็บไซต์ คณะบริหารธุรกิจฯ มทร.ล้านนา จัดอบรมการเขียนงานวิจัยให้เผยแพร่ระดับชาติ | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

คณะบริหารธุรกิจฯ มทร.ล้านนา จัดอบรมการเขียนงานวิจัยให้เผยแพร่ระดับชาติ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 29 สิงหาคม 2562 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1242 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความให้สามารถนำงานวิจัยเผยแพร่ในเวทีระดับชาติ” ระหว่างวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2562 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.พรหทัย  ตัณฑ์จิตานนท์ รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจฯ เป็นประธานเปิดโครงการ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุม บธ.1-104 คณะบริหารธุรกิจฯ มทร.ล้านนา (เชียงใหม่)

สำหรับการจัดโครงการฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ เทคนิคการเขียนทบทความวิจัยประเภทต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเขียนบทความให้สามารถนำงานวิจัยเผยแพร่ในเวทีระดับชาติ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัยบรรยายในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ “การสร้างแรงจูงใจในการกำหนดผลงานวิจัยตีพิมพ์เพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. และ ศ.” โดย รศ.ดร.พานิช  อินต๊ะ, “การเขียนบทความเพื่อขอผลงานทางวิชการ” โดย ผศ.ดร.ประทีป  พืชทองหลาง และ “การจัดการความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความจากงานวิจัยเพื่อเผยแพร่” โดย ผศ.ปณชนก  ชาญไววิทย์ และได้แบ่งกลุ่มเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติตามศาสตร์ 4 กลุ่ม กลุ่มบัญชี, กลุ่มบริหารธุรกิจ, กลุ่มสังคมศาสตร์และกลุ่มภาษาศาสตร์และการศึกษา

รศ.ดร.พรหทัย  ตัณฑ์จิตานนท์ กล่าวว่า “การอบรมในครั้งนี้ถือเป็นพันธกิจหลักของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ในการพัฒนางานวิจัยเพื่อการเติบโตร่วมกับการพัฒนาประเทศ ตอบสนองต่อความต้องการท้องถิ่นโดยบูรณการระหว่างศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำมาสนับสนุนการยกระดับศักยภาพภาคธุรกิจ ภาคการผลิต ภาคบริการ เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้รับการส่งเสริมและสร้างความเข็มแข็งในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชการและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและประเทศชาติ โดยผลที่คาดว่าจะได้รับนาการอบรามครั้งนี้จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเขียนบทความได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของหน่วยงานและแหล่งตีพิมพ์ ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ อันจะเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาและประเทศชาติต่อไป”







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon