โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา  เดินหน้าจับมือกลุ่มราชมงคลส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมภาคอุตสาหกรรมต่อยอดสู่การพัฒนามหาวิทยาลัย  | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

มทร.ล้านนา เดินหน้าจับมือกลุ่มราชมงคลส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมภาคอุตสาหกรรมต่อยอดสู่การพัฒนามหาวิทยาลัย

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 17 ธันวาคม 2564 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4545 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดการประชุม "กลไกการบ่มเพาะกลุ่มผู้มีศักยภาพตามประสบการณ์ (Grooming)" โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพ ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคนของประเทศ ณ ห้องประชุมกาสะลอง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนนา วันที่ 17 ธันวาคม 2564

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน กล่าวว่า “กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้มีโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมกัน จุดเข้มแข็งของ มทร.ล้านนา นั้นก็คือความเชี่ยวชาญด้าน ออโตเมชั่น ซึ่งในอนาคตอันใกล้เราจะได้เห็นศักยภาพของบุคลากรทั้ง  9 มทร.ที่จะได้เข้ามาทำงานและได้เรียนรู้เทคโนโลยีร่วมกันซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนามหาวิทยาลัย เชื่อมั่นว่าโอกาสในครั้งนี้จะช่วยให้เราได้รู้จักกันมากขึ้นจะช่วยให้เราได้เข้าใจบริบทของการพัฒนามหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรม ในการนำ Talent Mobility เข้ามาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน

         โอกาสในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นประโยชน์กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ การพัฒนากำลังคนทั้งในภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของสถานศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึง การส่งเสริมระบบส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน”

          โครงการครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพ (Talent Resource Management) ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล การดำเนินงานนี้มีเครือข่ายร่วมกัน 9 แห่ง จำนวน 36 วิทยาเขต ครอบคลุมพื้นที่ 6 ภูมิภาค ใน 22 จังหวัด ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบของการวิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ การเคลื่อนย้ายบุคลากรผู้มีความสามารถ การให้คำปรึกษา การจัดฝึกอบรม และการจัดการเรียนการสอนร่วมทั้งในรูปแบบสหกิจศึกษา Tailor made course (TM15) และ Work Integrated Learning (WIL) โดยแต่ละมหาวิทยาลัยมีระเบียบรองรับการทำงานและการจัดการเรียนร่วมกับภาคอุตสาหกรรมตามบริบทของแต่ละแห่ง จากการดำเนินงานบ่มเพาะกลุ่มผู้มีศักยภาพตามประสบการณ์ (Grooming) 5 ครั้งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นครั้งที่ 6  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม จำนวน 107 ท่าน ประกอบด้วย เขตพื้นที่เชียงใหม่ 35 ท่าน,เขตพื้นที่เชียงราย 35 ท่าน,เขตพื้นที่ตาก 8 ท่าน,เขตพื้นที่ลำปาง 21 ท่าน,เขตพื้นที่พิษณุโลก 4 ท่าน,สวก 4 ท่าน โดยมีทั้งผู้เข้าร่วมที่อยู่ในห้องประชุมแห่งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 24 ท่าน และที่อยู่ในระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom จำนวน 84 ท่าน







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon