โลโก้เว็บไซต์ คณะบริหารธุรกิจฯ มทร.ล้านนา ติดตามงานพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนาธรรมและสังคม | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

คณะบริหารธุรกิจฯ มทร.ล้านนา ติดตามงานพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนาธรรมและสังคม

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 15 มีนาคม 2565 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 599 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ผศ.นิศรา จันทร์เจริญสุข คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้านักวิจัย จัดประชุม “โครงการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 12 -13 มีนาคม 2565ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.ล้านนา พร้อมคณาจารย์จาก 5 เขตพื้นที่ร่วมโครงการ (เชียงราย, ลำปาง, ตาก, น่านและพิษณุโลก)

สำหรับ  “โครงการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการธุรกิจอัฉจริยะ การสังเคราะห์รูปแบบนวัตกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะและการสร้างต้นแบบนวัตกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน บนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม คณะผู้วิจัยมีเป้าหมายในการพัฒนาชุดความรู้หรือสร้างหลักสูตร SMART Innovation for New Entrepreneur ถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยมี 7 โครงการย่อย ดังนี้

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 นวัตกรรมต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจอัจฉริยะสำหรับผู้ประกอบการใน จังหวัดภาคเหนือบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม

โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การพัฒนารูปแบบธุรกิจอัจฉริยะ เพื่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม จังหวัดเชียงใหม่

โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การพัฒนาโมเดลธุรกิจ Young Smart Farmer  เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม จังหวัดเชียงราย

โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การพัฒนาโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชิงชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการอัจฉริยะ แบบรวมศูนย์บนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคมจังหวัดน่าน

โครงการวิจัยย่อยที่ 5 พัฒนาต้นแบบการบริหารธุรกิจอัจฉริยะสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม

โครงการวิจัยย่อยที่ 6 การพัฒนาโมเดลธุรกิจOTOPเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคมในจังหวัดตาก

โครงการวิจัยย่อยที่ 7 การพัฒนาโมเดลธุรกิจสินค้าแปรรูปการเกษตรเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมและสังคม จังหวัดพิษณุโลก

โดยทั้ง 7 โครงการย่อยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา