โลโก้เว็บไซต์ สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ แก่นักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่ | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ แก่นักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 30 มีนาคม 2565 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 3589 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          29 มี.ค. 65  สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  และห้องเรียน สอวน. - กสพท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่ โดยจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบเวียนฐานการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกลุ่มแรกได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และกลุ่มที่สอง ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เป็นประธานในพิธีเปิดกลุ่มกิจกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ณ อาคารศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
          สำหรับนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องเรียน สอวน. - กสพท. มุ่งเน้นการเรียนการสอนทางต้านวิทยาศาสตร์เป็นฐาน ให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนักเรียนได้ฝึกฝนกระบวนการคิด การปฏิบัติการทดลอง และสรุปผลด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลนำมาซึ่งกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ด้วยเหตุนี้แผนกวิขาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จึงร่วมมือกับสาชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทตโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ผ่านการทำกิจกรรมตามฐานองค์ความรู้ได้แก่ ฐานฟิสิกส์ ฐานคณิตศาสตร์ ฐานชีววิทยา และฐานเคมี โดยวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้เกิตแรงบันดาลใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon