โลโก้เว็บไซต์ CEO มทร.ล้านนา ผ่าน 3 ประเด็นสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย ในการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 66 | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

CEO มทร.ล้านนา ผ่าน 3 ประเด็นสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัย ในการประชุมประจำเดือนสิงหาคม 66

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 25 สิงหาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2654 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยฯ พิจารณาเห็นชอบดำเนินการจัดโควตานักเรียนกลุ่มชายขอบ 17 จังหวัดภาคเหนือ การจัดการเรียนการสอนในรูปปแบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) และการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ 

 

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการประชุม ครั้งที่ 9/2566 ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.ล้านนา เชียงใหม่ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Microsoft Teams เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพันธกิจมหาวิทยาลัย ซึ่งในที่ประชุมได้มีการร่วมกันพิจารณาเห็นชอบดำเนินการในประเด็นสำคัญ 3 เรื่องได้แก่

  1. การจัดโควตานักเรียนกลุ่มชายขอบ 17 จังหวัดภาคเหนือ  โดยมหาวิทยาลัย มีนโยบายให้โควต้าสำหรับนักเรียนกลุ่มชายขอบเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จนถึงระดับปริญญาตรี ให้กับนักเรียนภายใต้โครงการทหารพันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย” ในเรียนเรียนต้นแบบพื้นที่ภาคเหนือตามระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมี ตามแนวชายแดนและพื้นที่ห่างไกลใน 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 69 โรงเรียน
  2. การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) โดยการเรียนแบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Academic Credit Bank : Credit Bang)  หรือธนาคารหน่วยกิต ภายใต้เครือข่ายของ 9 มทร.ทั่วประเทศ โดยเริ่มจากการเรียนการสอนในกลุ่มวิชากศึกษาทั่วไป (GE) จำนวน 24 หน่วยกิต และในอนาคตอันใกล้ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุก มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ
  3. การพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยจะมีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยจากเดิม 14 แอพพลิเคชั่น อาทิ E-Office, Check in, Covid-19, Face scan ซึ่งมีประสิทธิภาพและเป็นต้นแบบของหลายๆ หน่วยงานในการนำไปใช้ และในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบ Single MIS Data, RMUTL App และ RMUTL-Thesis ของมหาวิทยาลัย





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon