เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 30 มกราคม 2567 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 763 คน
วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. ว่าที่ร้อยตรี เกรียงไกร ศรีประเสริฐ นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานฝ่ายยุทธศาตร์การนำไปใช้ประโยชน์ และ น.ส.เสาวลักษณ์ จันทร์พรหม เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป บุคลากรสังกัดสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานที่จัดงานประชุมนานาชาติ” เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับการจัดงานประชุมนานาชาติ รวมถึงให้ความร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการจัดเก็บข้อมูลการจัดประชุม ภายใต้โครงการการพัฒนากลไกการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการจัดประชุมนานาชาติของไมซ์ซิตี้เข้าสู่สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ICCA) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเกียรติ วงษ์พานิช รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการฯ จัดโดยศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี หน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU) คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. พร้อมร่วมรับฟังเสวนาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อ กลยุทธ์สำคัญจุดหมายปลายทางประชุมนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ การเตรียมความพร้อมทางด้านข้อมูลสำหรับไมซ์ (MICE) โดยใช้ฐานข้อมูล Thailand Convention Exhibition Bureau (TCEB) ของ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เพื่อเตรียมข้อมูลสถานที่จัดงานพร้อมทั้งข้อมูลบุคลากรมืออาชีพ วิทยากร Master of Ceremonies (MC) ล่าม Freelance ช่างภาพ ช่างไฟฟ้า และอื่น ๆ นอกจากมีข้อมูลต่าง ๆ แล้วทางโรงแรมยังต้องปรับตัวและต้องผ่าน Thailand MICE Venue Standards (TMVS) มาตรฐานสถานที่ที่จัดงานประเทศไทย ของโรงแรม เพื่อสร้างมาตรฐานการจัดงานในระดับสากล เพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจ MICE ในไทยให้กับกลุ่มนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ณ ห้องเชียงดาว ชั้น 3 โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูล/ภาพ กลุ่มงานฝ่ายยุทธศาตร์การนำไปใช้ประโยชน์ สถช.
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา