โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนาจัดอบรมอาจารย์และนักวิจัย เพื่อยกระดับผลงานสู่การสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

มทร.ล้านนาจัดอบรมอาจารย์และนักวิจัย เพื่อยกระดับผลงานสู่การสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 23 เมษายน 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 15297 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคลล้านนา จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ นักวิจัยในหน่วยบริหารวิจัย ภายใต้โครงการปฏิรูประบบและกลไกการนำผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้าง ทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 23 - 24 เมษายน 2567 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาจารย์ นักวิจัย ด้วยการใช้เครื่องมือการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP Tools) และให้มีความรู้ ความเข้าใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย ผู้จัดการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นางสาวพันทนา คำเขียว ผู้ช่วยผู้จัดการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ใน "หัวข้อผลงานวิจัยกับการบริหารทรัพย์สินทางปัญญา, เครื่องมือบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนักวิจัยและบุคลากร หน่วยบริหารงานวิจัย IP Tools, แนวทางการนำทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงสังคม และชุมชน, การบริหารนิติกรรม สัญญา ที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.TRIUPAct และ แนวทางการใช้ประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.TRIUPAct ในกรณีพันธุ์พืชและทรัยพยากรชีวภาพ" โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรวมประกอบด้วย อาจารย์ นักวิจัย คณะทำงานจาก มทร.ล้านนา ทั้ง 6 พื้นที่ ผู้แทนจาก 4 คณะ 1 วิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยการเกษตร สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร รวมจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 80 คน 

>> คลิกเข้าชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม<<









ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon