โลโก้เว็บไซต์ นำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในงานประชุมวิชาการท่องเที่ยวระดับชาติ “การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ศตวรรษที่ 21 | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

นำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในงานประชุมวิชาการท่องเที่ยวระดับชาติ “การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ศตวรรษที่ 21

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 16 มิถุนายน 2560 โดย กชพร วงษ์ทอง จำนวนผู้เข้าชม 2075 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

นักศึกษาหลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรมชั้นปีที่4คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้นำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในงานประชุมวิชาการท่องเที่ยวระดับชาติ “การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ศตวรรษที่ 21” ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2560 ได้ส่งผลงานจำนวน 4 ผลงาน ดังนี้

·     นางสาวฐิติธญา ฉั่น นำเสนอเรื่อง “ศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านเหมืองกุง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีอาจารย์อำพร กันทา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

·     นางสาวสุดารัตน์ สืบทายาท นำเสนอเรื่อง “การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของน้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีอาจารย์อำพร กันทา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

·     นางสาวจิดาภา ทาติ๊บ นำเสนอเรื่อง คุณภาพการบริการและปลอดภัยของนักทองเที่ยวชาวต่างชาติในแหล่งทองเที่ยวบอดินเกา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอาจารย์วรัญญ์คมน์ รัตนะมงคลชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

·     นางสาวกัลยา ฟูปางไค้ นำเสนอเรื่อง กลยุทธ์การสื่อความหมายสำหรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวผาช่อ อุทยานแห่งชาติแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับงานประชุมวิชาการ การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ศตวรรษที่ 21 จัดโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ได้นำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวสู่สาธารณชน ชุมชนวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยทางด้านการท่องเที่ยวในระดับชาติ พร้อมทั้งการสร้างความร่วมมือทางวิชาการก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายนักวิชาการ และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ก้าวไปในระดับประเทศต่อไป








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon