เผยแพร่เมื่อ : พุธ 14 กุมภาพันธ์ 2561 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4165 คน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการนำเสนอโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นโดยธนาคารออมสิน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ56 พรรษา ซึ่งเป็นการนำเสนอโครงการของนักศึกษามทร.ล้านนาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 ทีม แก่ผู้แทนของธนาคารออมสิน ได้แก่ นางสาวอัญธภรณ์ พลไพรินทร์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขต เชียงใหม่ 1 นางสาววิลานี แซ่แต้ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ผลิตภัณฑ์ การตลาดและพัฒนาลูกค้าองค์กรชุมชนพร้อมทีมงาน โดยเป็นกลุ่มนักศึกษาที่มาจากโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชนแบบมีส่วนร่วม งานบริการวิชาการและงานวิจัย จำนวน 7 ทีม ประกอบด้วย
1.โครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนรวีวรรณกล้วยกรอบ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมทร.ล้านนา เชียงราย
2.โครงการพัฒนา ผ้าม่อนล้าน บนสถานีพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริดอยม่อนล้านนา โดยคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
3.โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตเห็ดของวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านวอแก้ โดย มทร.ล้านนา ลำปาง
4.โครงการศึกษาวิเคราะห์ ส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารชาววัง ต.นาโบสถ์ อ.วังเจ้า จ.ตาก โดย มทร.ล้านนา ตาก
5.โครงการยกระดับชุมชนบ้านออนใต้เชิงสร้างสรรค์ (กลุ่มสตรีผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชมชนกระเป๋าถักจากเชือกร่ม) ต.แม่ออน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
6.โครงการก้าวแรกสู่บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์
7.โครงการการเพิ่มผลิตภาพการจำหน่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าตีนจก บ้านสองธาร ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือสืบเนื่องจากที่ มทร.ล้านนาและธนาคารออมสินได้ลงนามความร่วมมือในด้านการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการนี้จึงเป็นเสมือนเวทีให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยการบูรณาการภูมิปัญญาเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่สร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการธุรกิจ รวมถึงนักศึกษาจะได้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นและสืบสานให้คงอยู่สืบไป
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา