โลโก้เว็บไซต์ คณาจารย์และนักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ ให้ประชาชนในพื้นที่พระราชดำริฯ ชุมชนขุนตื่นน้อย | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

คณาจารย์และนักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ ให้ประชาชนในพื้นที่พระราชดำริฯ ชุมชนขุนตื่นน้อย

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 29 กรกฎาคม 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 4440 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

      อาจารย์ศรีธร อุปคำ พร้อมด้วย อาจารย์ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์  ผศ.ดร.ธวัชชัย อุ่นใจจม อาจารย์เมธัส ภัททิยธนี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา และนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล  มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบำรุงรักษาเครื่องผลิตไฟฟ้า จากพลังงานน้ำในพื้นที่พระราชดำริฯ”” ภายใต้โครงการผลักดันผลงานวิจัยและบริการวิชาการสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ศูนย์โครงการหลวง ณ ชุมชนขุนตื่นน้อย ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2563 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้แทนชุมชนเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ การเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่างภายในหมู่บ้าน และการดูแลทำความสะอาดฝายน้ำล้นและบ่อดักทราย ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในโอกาสเดียวกันนี้อาจารย์พิศาพิมพ์  จันทร์พรม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ พร้อมทีมงาน ได้ร่วมลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทรัพยากรด้านต่างๆในชุมชนเพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกด้วย 
     สำหรับชุมชนขุนตื่นน้อย เป็นพื้นที่ภายใต้โครงการ “ศึกษาและพัฒนาพลังงานทางเลือกระดับชุมชน” ที่คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ทำการศึกษา วิจัย และสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา  ควบคู่กับการเป็นวิทยาการถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกอบรมทักษะด้านช่างแก่ประชาชนในชุมชน ให้สามารถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในโรงผลิตไฟฟ้า และติดตั้ง แก้ไขไฟฟ้าส่องสว่างภายในชุมชนได้  โดยระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำประกอบด้วย ฝ่ายน้ำล้น ระบบดักทราย ท่อส่งน้ำเพื่อใช้หมุนกังหันน้ำเป็นต้นกำลังขับเคลื่อนไฟฟ้าแบบซิงโครนัส 1 เฟส 3 กิโลวัตต์ 220 โวลล์ มีความถี่ 50 เฮิรตซ์ ที่ 1,500 รอบต่อนาที ใช้งานได้ 2 โหมด คือเชื่อมต่อกับระบบเครื่องสำรองไฟฟ้าขนาด 4 กิโลโวลต์-แอมป์ แบตเตอรี่ขนาด 300 แอมป์ ชั่วโมง สำหรับเก็บพลังงานสำรอง และระบบที่ผลิตไฟฟ้าโดยตรง ใช้งานโดยต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าส่องสว่างในบ้านเรือน จำนวน 38 หลังคาเรือน ไฟฟ้าส่องสว่างถนนภายในชุมชน เครื่องสีข้าวชุมชน และใช้งานภายในศูนย์ขยายผลฯ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา (ศศช.)ขุนตื่นน้อย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon