โลโก้เว็บไซต์ ประชุมเชิงปฎิบัติการภายใต้โครงการการวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม ประจำปี 2561 | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา

ประชุมเชิงปฎิบัติการภายใต้โครงการการวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม ประจำปี 2561

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 26 ตุลาคม 2561 โดย สุพิชฌาย์ ถาวรลิมปะพงศ์ จำนวนผู้เข้าชม 3876 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้โครงการ “การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม ประจำปี 2561” ณ ห้องประชุมสุเทพ ชั้น 2 โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อให้นักวิจัยและผู้ประกอบการ ได้ร่วมกันสะท้อนและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่น ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ   
2. เพื่อให้นักวิจัยและผู้ประกอบการได้ร่วมกันพัฒนากรอบข้อเสนอโครงการวิจัย  อันจะนำไปสู่การจัดการปัญหาที่ดีมีความสอดคล้องต่อสถานการณ์ปัญหาผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นที่ถิ่น ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้มอบหมายให้ท่านชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นประธานในพิธี (ซึ่งท่านได้เสนอแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นที่โครงการกำลังดำเนินงานเพื่อนำไปสู่แผนการทำงานพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่)และมีท่านพัฒนาการอำเภอฮอด ตัวแทนพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฮอดเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมด้วย โดยได้เชิญผู้ประกอบการผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้ร่วมกันสะท้อน วิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมปัญหาในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน และทำการวิเคราะห์ ร่วมหาแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย โดยมีอาจารย์นักวิจัยจากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้กรอบงานวิจัยที่ตอบสนองต่อปัญหา สถานการณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ผลของการดำเนินงาน นอกจากจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำแล้ว ยังทำให้โครงการฯ ได้กรอบการดำเนินงานวิจัยอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา